สัปดาห์ที่ 3
วันศุกร์ ที่ 22 มกราคม 2559
 

**งดการเรียนการสอน ค้นคว้าด้วยตัวเองและเตรียมเนื้อหารการนำเสนอ
สัปดาห์ที่ 2
วันศุกร์ ที่ 15 มกราคม 2559

**ขาดการเรียนครั้งที่ 2

งานที่มอบหมาย

สรุปตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์ (วิดีโอ)

รายการ : Teacher as Learners
ตอน : การบูรณาการคณิตศาสตร์
ผู้ดำเนินรายการ : อาจารย์เขมวรรณ      ขันมณี
แขกรับเชิญ : รศ.ลัดดา   ภู่เกียรติ
                   
ตัวอย่างจากวิดีโอสรุปได้ดังนี้

1. คณิตศาสตร์ทำอย่างไรให้เด็กชอบ
  • ทำให้เด็กต้องสนใจก่อน โดยยึดผู้เรียนเป็นหลัก โดยการใช้เครื่องมือ คือ โครงงาน
  • ทำในรูปแบบโครงงาน โดยนำกิจกรรมที่สนุกสนานและเกิดความสามัคคี
  • สอนในเรื่องที่ยากให้กลายเป็นง่าย โดยเปลี่ยนเป็นรูปแบบกิจกรรม เช่น เรื่องกำไร ขาดทุน โดยทำกิจกรรมแบบค้าขาย
  • การลงสถานที่จริง เพื่อประสบการณ์ตรงของเด็ก และเปิดโลกทัศน์ให้เด็ก
  • ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
2. ประโยชน์ของโครงงานคณิตศาสตร์
  • เด็กลงมือทำด้วยตนเอง ในการคิด องค์ความรู้ต่างๆ
  • เด็กเปิดใจในวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น
  • ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนทำให้เกิดความสามัตตีและจริยธรรมในตัวเด็ก
3. คำแนะนำเด็กที่ไม่เปิดรับคณิตศาสตร์
  • ควรทำการวิจัยเด็กก่อน ว่าเด็กแต่ละคนเป้นอย่างไร
  • เมื่อทราบปัญหาของเด็กแต่ละคน ก็แก้ไขปัญหา หาเรื่องที่เขาชอบหรือเรื่องที่ถนัดสอนก่อน
  • จับคู่นักเรียนที่เรียนเก่งและเรียนอ่อน เพื่อช่วยเหลือกัน โดยให้เด็กสมัครใจต่อกัน จึงจะเกิดจิตอาสาอย่างเต็มใจ
  • คุณครูควรหาจุดเด่นของนักเรียนที่เรียนอ่อน เพื่อเกิดจิตอาสาอย่างใจ เพื่อให้เห็นคุณค่าในตน




.....................................................................................................................................

ผลงานวิจัย

            ชื่อนักวิจัย :   นางสุธีรา   ท้าวเวชสุวรรณ

            ปริญญา :     ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ

          ชื่อเรื่องที่ค้นคว้าแบบอิสระ :     การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามเครื่องมือครู

          กลุ่มเป้าหมาย :    เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 60 คน โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

         วัตถุประสงค์ของการศึกษา :   1)เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทางคริตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามเครื่องมือครู 2)เพื่อศึกษษความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 2 ห้อง โยจับฉลากนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองการจัดเกมการศึกษาและเพลง กับกลุ่มควบคุมการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู โดยมีแบบแผนวิจัยแบบ
                     "nonrandommized control group pretest  posttest design"

         เครื่องมือที่ใช้ทำการศึกษา :   1)แผนที่จัดเกมการศึกษาและเพลง  2)แผนจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู   3)แบบประเมินความพร้อมทางคณิตศาสตร์  4)แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง และการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู

          ผลการศึกษาพบว่า :  1) ความพร้อมทางคณิตสาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2  ที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู มีความแตกต่างอย่างมรนัยสำคัญตามสถิติ 0.01 โดยเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยเกมการศึกษาและเพลง มีความพร้อมสูงกว่า เด็กที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู โดยความพร้อมเรื่องการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่งมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด
2) ความคิดเห็นของเด้กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู โดยสอบถาม 3 ด้านคือ บรรยากาศ กิจกรรมในการจัดประสบการณ์และประโยชน์ที่ได้รับ พบว่า กลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง ส่วนใหญ่มีความคิดเห้นพอใจมากทั้ง 3 ด้าน และกลุ่มที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู ส่วนใหญ่มีระดับความเห็นพอใจมากเช่นกัน คือ เด็กปฐมวัยชอบกิจกรรมเกมการศึกษาและเพลง

          สรุปผลการวิจัย :  ความพร้อมทางคณิตสาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2  ที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู มีความแตกต่างอย่างมรนัยสำคัญตามสถิติ 0.01 โดยเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยเกมการศึกษาและเพลง มีความพร้อมสูงกว่า เด็กที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู โดยความพร้อมเรื่องการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่งมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด  เพราะเด็กชอบการร้องและฟังเพลง ทำให้พัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเขาตอบสนองและรับรุ้อย่างรวดเร็ว

อ้างอิง      http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn  /Sutheera_Thaowetsuwan/Fulltext.pdf


.....................................................................................................................................

สรุปบทความที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์

 ชื่อบทความ กิจกรรมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

            คณิตศาสตร์มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเด๋กในการเล่นและพูดคุยของเด็กนั้น      มักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ จากคำพูดของเด็กที่เราได้ยินมักจะพบอยู่เสมอว่ามีการพูดึงการเปรียบเทียบ การวัด และตัวเลข เช่น “เอาอันที่ใหญ่สุดให้หนูนะ” “หนูจะเอาอันกลม ๆ นั่นละ” “โอ้โฮ อันนี้ราคาตั้ง 10 บาท” 

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์  
    1. เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การ บวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ 
    2. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ  
    3. เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
   4. เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่ การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ เป็นต้น

   5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง 
   6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย 1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น 2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม 3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน 4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ 5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ 6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น 
    7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ 
    8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน
    9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม
   10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ? 

   11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์ 
   12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม 
   13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปหายาก 
   14. ผู้เลี้ยงดูเด็กควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้ว การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยการนับถือว่าเป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเด็ก จะเชื่อมโยงตัวเลขกับสิ่งต่างๆกิจกรรมที่เกี่ยวกับการนับควร ให้เด็ก ได้ฝึกจากประสบการณ์จริง อาจให้นับกระดุมเสื้อ นับ ต้นไม้ในสนาม นับหลอดด้าย เป็นต้น ตัวอย่างกิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภท จุดประสงค์ เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท




สัปดาห์ที่ 1
วันศุกร์ ที่ 8 มกราคม 2559

**ขาดการเรียนครั้งที่ 1 เนื่องจากต้องเฝ้าน้องที่เข้าโรงพยาบาลซึ่งไม่มีผู้ดูแล

กิจกรรม

  • แนะนำตัวเองและทำกิจกรรมในห้อง

  • อาจารย์ให้ทำบล็อคเกี่ยวกับวิชานี้

  • สั่งการบ้าน