บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
วันพฤหัสบดี ที่28 เมษายน 2559

*ขาดการเรียน อ้างอิงเนื้อหาจากนางสาววราพร สงวนประชา (กลุ่มผีเสื้อ)
http://amwaraporn.blogspot.com/


เนื้อหาที่เรียน
1.การเขียนแผนการจัดประสบการณ์
- ความรู้ที่เกิดแก่เด็กหลังการสอน
- สาระที่ควรเรียนรู้
- เนื้อหา
- แนวคิด
- ประสบการสำคัญ
- 6 กิจกรรมหลัก
- กรอบพัฒนาการและกิจกรรม
- การบูรณาการทักษะวิชา
- แผนการจัดประสบการณ์

ทักษะ
- การคิดวางแผน

การจัดการเรียนการสอน
- ชวนให้คิดตามและมีการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น ทำให้การเรียนสนุก




บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันศุกร์ 22 เมษายน 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
1.แก้ไขนิทานให้มีความถูกต้องและสอดคล้องกับคริตศาสตร์
2.แผนการจัดประสบการร์ในหัวข้อประโยชน์และข้อควรระวังของผีเสื้อ

     การทำกิจกรรมโดยนำนิทานมาเป็นขั้นนำเพราะมีเรื่องราวให้วิเคราะห์มากมาย ให้ได้วิเคราะห์และคิดเรียงลำดับเรื่องราว เหตุการร์ต่างๆ

การแต่งนิทาน
  • มีเนื้อหา
  • ตัวละคร
  • สถานที่ตามหน่วยนั้นๆ
      ซึ่งในเรื่องราวของนิทานเป็นการใช้การสอนซึ่งสอดคล้องการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติ โดยการเรียนวิธีนี้จะใช้เรื่องราวจากนิทาน เพลง คำคล้องจอง เป็นต้น

     การเขียนกระดานก็เป็นส่วนสำคัญอีกเช่นกันในการเรียนรู้ภาาาของเด็ก การที่เราเขียนจนหมดบรรทัดและขึ้นบรรทัดใหม่ ควรหันไปถามเด็กๆก่อนว่า เมื่อครูเขียนจนหมดบรรทัดแล้ว เด็กๆคิดว่าครูควรทำอย่างไรดี เพื่อฝึกกระบวนการคิด แก้ไขปัญหา

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันศุกร์ ที่ 1 เมษายน 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
1.นำเสนอการสอน ของวันจันทร์และอังคาร
เรื่องประเภทของผีเสื้อ มี 2 ประเภท คือผีเสื้อกลางวันและผีเสื้อกลางคืน
ซึ่งสอนสาระคณิตศาสตร์ที่1 การนับและจำนวน

 

ซึ่งการสอนเรื่องจำนวนนั้นจะต้องเรียงลำดังขั้นตอน ดังนี้
  •  การนับหรืออ่านค่าของจำนวน
  • การรู้ค่าของจำนวน
  • การแทนค่าด้วยเลขฮินดู-อารบิค 
เก็บตกเพื่อนๆ

 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันศุกร์ ที่ 25 มีนาคม 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
1.พรีเซ้นวีดิโอการสอนของตนเอง สรุปให้เพื่อนๆฟัง เรื่องไข่ไก่
วิธีการสอน : คือจะทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวเพลงแม่ไก่ออกไข่วันละฟอง แและต่อมาก็นำสู่กิจกรรมบูรณาการคณิตศาสตร์ โดยที่ครูจะจัดเตรียมไข่ไว้ให้เด็ก และนำไปใส่ไว้ในตะกร้า ตามจำนวนดังนี้
ตะกร้าที่1 เปรียบเหมือนวันที่ 1 ออกไข่ 1ฟอง
ตะกร้าที่2 เปรียบเหมือนวันที่2 ออกไข่ 2ฟอง
ตะกร้าที่3จนครบตะกร้าที่5 ไข่ 5 ฟอง

2.แบ่งหน้าที่งานกลุ่ม
มีสมาชิก 2 คน คือวราพรและทาริกา หน้าที่ดังนี้
ทาริกา ดูแล วันจันทร์ทำเรื่องประเภท
วราพร  ดูแล วันอังคารทำเรื่องลักษณะ

3.กรอบสาระคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์
ระหว่างการดำเนินการต่างๆ  และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.3 ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.4 เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
สาระที่ 2 การวัด
มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
มาตรฐาน ค 2.2 แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
มาตรฐาน ค 3.1 อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
มาตรฐาน ค 3.2 ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial
reasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model)
ในการแก้ปัญหา
สาระที่ 4 พีชคณิต
มาตรฐาน ค 4.1 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern)  ความสัมพันธ์  และฟังก์ชัน
มาตรฐาน ค 4.2 ใช้นิพจน์  สมการ  อสมการ  กราฟ  และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ 
(mathematical  model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจน
แปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
มาตรฐาน ค 5.2 ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้
อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค 5.3 ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อ
ความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์
อ้างอิง:http://www.sjt.ac.th/group/math/standard.htm           

บันทึกการเรียนครั้ง 11
วันศุกร์ ที่ 18 มีนาคม 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
1.เขียนแบบสรุปองค์ความรู้ที่จะนำเอาไปสอน ทำงานเป็นกลุ่ม
    ตัวอย่างเช่น กลุ่มฉันทำเรื่องของผีเสื้อ แบ่งหัวข้อตามวัน 5 วัน
จันทร์-ประเภทของผีเสื้อ
อังคาร-ลักษณะของผีเสื้อ
พุธ-การดำรงชีวิต(อาหาร)ของผีเสื้อ
พฤหัสบดี-การขยายพันธ์
ศุกร์-ประโยชน์ของผีเสื้อ



บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10
วันศุกร์ ที่11 มีนาคม 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
1.อาจารย์ให้ทำจิ๊กซอว์จากกระดาษลังทำเป็นรูปทรงเลขาคณิต โดยมีตัวแบบมาให้

 


บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันศุกร์ ที่4 มีนาคม 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
1.จับคู่กับเพื่อนเพื่อทำตารางเป็นสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

   วัสดุ
  •  กรรไกร คัดเตอร์
  •  กาว
  •  ไม้บรรทัด
  •  ดินสอ
  •  กระดาษเปล่า
  •  แผ่นลัง (ลังที่ถูกตัดเป็นแผ่นใหญ่)
  •  สติ๊กเกอร์
  •  สก็อตเทป
  •  กระดาษเคลือบใส
วิธีการ

 














 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันศุกร์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
1.การแก้ไขปัญหาและวิธีคิด
  • คิด
  • อุปกรณ์
  • ลงมือปฏิบัติ
  • ผลงาน
  • นำเสนอ 
2.STEM คือ
  • Science (วิทยาศาสตร์)
  • Technology (เทคโนโลยี)
  • Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)  
  • Mathematic (คณิตศาสตร์) 
3.เกมการศึกษามี 8 เกม ดังนี้ 

1.จับคู่
เพื่อให้เด็กได้ฝึกสิ่งที่เหมือนกันหรือแตกต่างกัน ซึ่งอาจเป็นการเปรียบเทียบภาพ
ต่างๆ แล้วจัดเป็นคู่ๆ ตามจุดมุ่งหมายของเกมแต่ละชุดของเกมจับคู่ประกอบด้วย
1.1 เกมจับคู่ที่เหมือนกันหรือสิ่งเดียวกัน
1.1.1 จับคู่ที่เหมือนกันทุกประการ
1.1.2 จับภาพกับเงาของสิ่งเดียวกัน
1.1.3 จับภาพกับโครงร่างของสิ่งเดียวกัน
1.1.4 จับภาพที่ซ่อนอยู่ในภาพหลัก
1.2 เกมจับคู่ภาพที่เป็นประเภทเดียวกัน
1.3 เกมจับคู่ภาพที่มีความสัมพันธ์กัน
1.4 เกมจับคู่ภาพสัมพันธ์แบบตรงข้าม
1.5 เกมจับคู่ภาพเต็มกับภาพที่แยกส่วน
1.6 เกมจับคู่ภาพชิ้นส่วนที่หายไป
1.7 เกมจับคู่ภาพที่ซับซ้อน
1.8 เกมจับคู่ภาพที่สมมาตรกัน
1.9 เกมจับคู่ภาพที่มีความสัมพันธ์กันแบบอุปมา อุปมัย
1.10 เกมจับคู่ภาพที่มีเสียงสระเหมือนกัน
1.11 เกมจับคู่ภาพที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน
1.12 เกมจับคู่แบบอนุกรม
2. การต่อภาพให้สมบูรณ์ (Jigsaw)
3. การวางภาพต่อปลาย (Domino)
3.1 เกมโดมิโนภาพเหมือน
3.2 เกมโดมิโนภาพสัมพันธ์
3.3 เกมโดมิโนผสม 5
4. การเรียงลำดับ
4.1 เกมเรียงลำดับขนาด
4.2 เกมเรียงลำดับหมู่ของภาพ
5. การจัดหมวดหมู่
5.1 เกมการจัดหมวดหมู่ของวัสดุ
5.2 เกมการจัดหมวดหมู่ของภาพ
5.3 เกมการจัดหมวดหมู่ของรายละเอียดของภาพ
5.4 เกมการจัดหมวดหมู่ภาพกับสัญลักษณ์
6. การสังเกตรายละเอียดของภาพ (Lotto)
7. การจับคู่แบบตารางสัมพันธ์
8. พื้นฐานการบวก
9. การทำความสัมพันธ์ตามลำดับที่กำหนด
อ้างอิง : ( สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. , 2536 : 42)
บันทึกการเรียนการสอนครั้ง 7
วันศุกร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
1.อาจารย์ให้เอาไม้เสียบลูกชิ้นมา สั้นและยาว และดิ้นน้ำมัน และอาจารย์จะให้โจทย์มาว่าให้ประกอบเป็นอะไร

2.ทักษะการคิด
 
การวิเคราะห์โจทย์  แนวคิด
ศึกษาวัสดุที่มีอยู่
ลงมือทำ
ผลงาน
การประเมินผล
                                                                       อุปกรณ์

บันทึกการเรียนครั้ง 6
วันศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
1.อาจารย์ให้เล่นเกมส์คือ สร้างตาราง 2 ตาราง ตารางแรกมี 20 ช่อง ตารางที่ 2 มี 40 ช่อง แล้วให้แรเงาให้เป็นรูปทรงต่างๆ
2.อาจารย์ให้ดูการสอนแบบโปรเจ็คของโรงเรียนเกษมพิทยา ดังนี้

การสอนแบบโครงการ(Project Approach)

                       การสอนแบบโครงการหรือแบบโครงงาน Project Approach  วงการศึกษาของไทยใช้ชื่อ “การสอนแบบโครงการ”  ในระดับปฐมวัยศึกษาหรือระดับอนุบาลศึกษา  และ  ใช้ชื่อ การสอนแบบโครงงาน  ในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา การสอนดังกล่าวเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยการสร้างความรู้ด้วยตนเอง นับเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการปฏิบัติที่เหมาะสมและการเรียนรู้ที่มีความหมายเต็มไปด้วยความกระตือรือร้นของเด็กปฐมวัย
 
มี 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่  1  เริ่มต้นโครงการ : ทบทวนความรู้และความสนใจของเด็ก เลือกหัวเรื่องที่เกี่ยวกับประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่ทุกวัน
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ ให้โอกาสเด็กค้นคว้า และมีประสบการณ์ใหม่เป็นงานในภาคสนาม
ระยะที่ 3  สรุปโครงการ :  ประเมิน สะท้อนกลับ  และแลกเปลี่ยนงานโครงการเป็นระยะสรุปเหตุการณ์  รวมถึงการเตรียมเสนอรายงานและผลที่ได้ในรูปของการจัดแสดงการค้นพบ  และจัดทำสิ่งต่าง ๆ สนทนา  เล่นบทบาทสมมติ  หรือจัดนำชมสิ่งที่ได้จากการก่อสร้างครูควรจัดให้เด็กได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนเรียนรู้กับผู้อื่น  
 
 ทักษะ / ระดมความคิด
-ทักษะการตอบคำถาม
-ทักษะการนับจำนวน
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
-ทักษะเรื่องรูปทรง 
         -ทักษะการแก้ปัญหา

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 
วันศุกร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหาหารเรียนการสอน
1.สอนเรื่องปฏิทินสำหรับเด็ก ซึ่งเราสามารถใช้ปฏิทินกับเด็กๆให้สามารถเข้าใจได้ง่าย และสามารถใช้ปฏิทินกับเด็กได้อย่างหลากหลาย เช่น การนับจำนวนจากวันปฏิทิน การจัดทำวันเกิดสำหรับเด็กๆ

2.เด็กจะต้องเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งหากเด็กไม่แสดงพฤติกรรมเมื่อทำกิจกรรมแสดงว่าเด็กนั้นแค่รับรู้ หากเด็กแสดงพฤติกรรมในกิจกรรมนั้นๆแสดงว่าเด็กเกิดการเรียนรู้

3.ร้องเพลง เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เรื่องการเพิ่ม-ลดจำนวน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการบวกและลบ


4.นำเสนอของเล่น ของแต่ละกลุ่ม


สัปดาห์ที่ 4
วันศุกร์ ที่ 29 มกราคม 2559

กิจกรรมที่ 1 อาจารย์แจกกระดาษป้ายชื่อและให้นักศึกษาเขียนชื่อของตนเองและมาแปะที่ช่องมาเรียนที่อาจารย์ทำตารางไว้ให้และจะมีชื่อช่องที่ไม่มาเรียนสำหรับเพื่อนที่ไม่มาเรียน และสอนคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ซึ่งมาจากจำนวนที่มาของนักศึกษาและจำนวนที่ไม่มา และจำนวนทั้งหมด

สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรม
 1. จำนวนนับ ซึ่งเพื่อนมีจำนวน 22 คน
 2. การบวกและลบ
 3. ทักษะความคิดทางคณิตศาสตร์


สัปดาห์ที่ 3
วันศุกร์ ที่ 22 มกราคม 2559
 

**งดการเรียนการสอน ค้นคว้าด้วยตัวเองและเตรียมเนื้อหารการนำเสนอ
สัปดาห์ที่ 2
วันศุกร์ ที่ 15 มกราคม 2559

**ขาดการเรียนครั้งที่ 2

งานที่มอบหมาย

สรุปตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์ (วิดีโอ)

รายการ : Teacher as Learners
ตอน : การบูรณาการคณิตศาสตร์
ผู้ดำเนินรายการ : อาจารย์เขมวรรณ      ขันมณี
แขกรับเชิญ : รศ.ลัดดา   ภู่เกียรติ
                   
ตัวอย่างจากวิดีโอสรุปได้ดังนี้

1. คณิตศาสตร์ทำอย่างไรให้เด็กชอบ
  • ทำให้เด็กต้องสนใจก่อน โดยยึดผู้เรียนเป็นหลัก โดยการใช้เครื่องมือ คือ โครงงาน
  • ทำในรูปแบบโครงงาน โดยนำกิจกรรมที่สนุกสนานและเกิดความสามัคคี
  • สอนในเรื่องที่ยากให้กลายเป็นง่าย โดยเปลี่ยนเป็นรูปแบบกิจกรรม เช่น เรื่องกำไร ขาดทุน โดยทำกิจกรรมแบบค้าขาย
  • การลงสถานที่จริง เพื่อประสบการณ์ตรงของเด็ก และเปิดโลกทัศน์ให้เด็ก
  • ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
2. ประโยชน์ของโครงงานคณิตศาสตร์
  • เด็กลงมือทำด้วยตนเอง ในการคิด องค์ความรู้ต่างๆ
  • เด็กเปิดใจในวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น
  • ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนทำให้เกิดความสามัตตีและจริยธรรมในตัวเด็ก
3. คำแนะนำเด็กที่ไม่เปิดรับคณิตศาสตร์
  • ควรทำการวิจัยเด็กก่อน ว่าเด็กแต่ละคนเป้นอย่างไร
  • เมื่อทราบปัญหาของเด็กแต่ละคน ก็แก้ไขปัญหา หาเรื่องที่เขาชอบหรือเรื่องที่ถนัดสอนก่อน
  • จับคู่นักเรียนที่เรียนเก่งและเรียนอ่อน เพื่อช่วยเหลือกัน โดยให้เด็กสมัครใจต่อกัน จึงจะเกิดจิตอาสาอย่างเต็มใจ
  • คุณครูควรหาจุดเด่นของนักเรียนที่เรียนอ่อน เพื่อเกิดจิตอาสาอย่างใจ เพื่อให้เห็นคุณค่าในตน




.....................................................................................................................................

ผลงานวิจัย

            ชื่อนักวิจัย :   นางสุธีรา   ท้าวเวชสุวรรณ

            ปริญญา :     ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ

          ชื่อเรื่องที่ค้นคว้าแบบอิสระ :     การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามเครื่องมือครู

          กลุ่มเป้าหมาย :    เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 60 คน โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

         วัตถุประสงค์ของการศึกษา :   1)เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทางคริตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามเครื่องมือครู 2)เพื่อศึกษษความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 2 ห้อง โยจับฉลากนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองการจัดเกมการศึกษาและเพลง กับกลุ่มควบคุมการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู โดยมีแบบแผนวิจัยแบบ
                     "nonrandommized control group pretest  posttest design"

         เครื่องมือที่ใช้ทำการศึกษา :   1)แผนที่จัดเกมการศึกษาและเพลง  2)แผนจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู   3)แบบประเมินความพร้อมทางคณิตศาสตร์  4)แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง และการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู

          ผลการศึกษาพบว่า :  1) ความพร้อมทางคณิตสาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2  ที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู มีความแตกต่างอย่างมรนัยสำคัญตามสถิติ 0.01 โดยเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยเกมการศึกษาและเพลง มีความพร้อมสูงกว่า เด็กที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู โดยความพร้อมเรื่องการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่งมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด
2) ความคิดเห็นของเด้กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู โดยสอบถาม 3 ด้านคือ บรรยากาศ กิจกรรมในการจัดประสบการณ์และประโยชน์ที่ได้รับ พบว่า กลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง ส่วนใหญ่มีความคิดเห้นพอใจมากทั้ง 3 ด้าน และกลุ่มที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู ส่วนใหญ่มีระดับความเห็นพอใจมากเช่นกัน คือ เด็กปฐมวัยชอบกิจกรรมเกมการศึกษาและเพลง

          สรุปผลการวิจัย :  ความพร้อมทางคณิตสาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2  ที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู มีความแตกต่างอย่างมรนัยสำคัญตามสถิติ 0.01 โดยเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยเกมการศึกษาและเพลง มีความพร้อมสูงกว่า เด็กที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู โดยความพร้อมเรื่องการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่งมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด  เพราะเด็กชอบการร้องและฟังเพลง ทำให้พัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเขาตอบสนองและรับรุ้อย่างรวดเร็ว

อ้างอิง      http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn  /Sutheera_Thaowetsuwan/Fulltext.pdf


.....................................................................................................................................

สรุปบทความที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์

 ชื่อบทความ กิจกรรมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

            คณิตศาสตร์มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเด๋กในการเล่นและพูดคุยของเด็กนั้น      มักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ จากคำพูดของเด็กที่เราได้ยินมักจะพบอยู่เสมอว่ามีการพูดึงการเปรียบเทียบ การวัด และตัวเลข เช่น “เอาอันที่ใหญ่สุดให้หนูนะ” “หนูจะเอาอันกลม ๆ นั่นละ” “โอ้โฮ อันนี้ราคาตั้ง 10 บาท” 

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์  
    1. เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การ บวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ 
    2. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ  
    3. เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
   4. เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่ การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ เป็นต้น

   5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง 
   6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย 1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น 2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม 3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน 4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ 5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ 6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น 
    7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ 
    8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน
    9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม
   10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ? 

   11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์ 
   12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม 
   13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปหายาก 
   14. ผู้เลี้ยงดูเด็กควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้ว การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยการนับถือว่าเป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเด็ก จะเชื่อมโยงตัวเลขกับสิ่งต่างๆกิจกรรมที่เกี่ยวกับการนับควร ให้เด็ก ได้ฝึกจากประสบการณ์จริง อาจให้นับกระดุมเสื้อ นับ ต้นไม้ในสนาม นับหลอดด้าย เป็นต้น ตัวอย่างกิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภท จุดประสงค์ เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท