บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
วันพฤหัสบดี ที่28 เมษายน 2559

*ขาดการเรียน อ้างอิงเนื้อหาจากนางสาววราพร สงวนประชา (กลุ่มผีเสื้อ)
http://amwaraporn.blogspot.com/


เนื้อหาที่เรียน
1.การเขียนแผนการจัดประสบการณ์
- ความรู้ที่เกิดแก่เด็กหลังการสอน
- สาระที่ควรเรียนรู้
- เนื้อหา
- แนวคิด
- ประสบการสำคัญ
- 6 กิจกรรมหลัก
- กรอบพัฒนาการและกิจกรรม
- การบูรณาการทักษะวิชา
- แผนการจัดประสบการณ์

ทักษะ
- การคิดวางแผน

การจัดการเรียนการสอน
- ชวนให้คิดตามและมีการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น ทำให้การเรียนสนุก




บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันศุกร์ 22 เมษายน 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
1.แก้ไขนิทานให้มีความถูกต้องและสอดคล้องกับคริตศาสตร์
2.แผนการจัดประสบการร์ในหัวข้อประโยชน์และข้อควรระวังของผีเสื้อ

     การทำกิจกรรมโดยนำนิทานมาเป็นขั้นนำเพราะมีเรื่องราวให้วิเคราะห์มากมาย ให้ได้วิเคราะห์และคิดเรียงลำดับเรื่องราว เหตุการร์ต่างๆ

การแต่งนิทาน
  • มีเนื้อหา
  • ตัวละคร
  • สถานที่ตามหน่วยนั้นๆ
      ซึ่งในเรื่องราวของนิทานเป็นการใช้การสอนซึ่งสอดคล้องการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติ โดยการเรียนวิธีนี้จะใช้เรื่องราวจากนิทาน เพลง คำคล้องจอง เป็นต้น

     การเขียนกระดานก็เป็นส่วนสำคัญอีกเช่นกันในการเรียนรู้ภาาาของเด็ก การที่เราเขียนจนหมดบรรทัดและขึ้นบรรทัดใหม่ ควรหันไปถามเด็กๆก่อนว่า เมื่อครูเขียนจนหมดบรรทัดแล้ว เด็กๆคิดว่าครูควรทำอย่างไรดี เพื่อฝึกกระบวนการคิด แก้ไขปัญหา

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันศุกร์ ที่ 1 เมษายน 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
1.นำเสนอการสอน ของวันจันทร์และอังคาร
เรื่องประเภทของผีเสื้อ มี 2 ประเภท คือผีเสื้อกลางวันและผีเสื้อกลางคืน
ซึ่งสอนสาระคณิตศาสตร์ที่1 การนับและจำนวน

 

ซึ่งการสอนเรื่องจำนวนนั้นจะต้องเรียงลำดังขั้นตอน ดังนี้
  •  การนับหรืออ่านค่าของจำนวน
  • การรู้ค่าของจำนวน
  • การแทนค่าด้วยเลขฮินดู-อารบิค 
เก็บตกเพื่อนๆ

 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันศุกร์ ที่ 25 มีนาคม 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
1.พรีเซ้นวีดิโอการสอนของตนเอง สรุปให้เพื่อนๆฟัง เรื่องไข่ไก่
วิธีการสอน : คือจะทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวเพลงแม่ไก่ออกไข่วันละฟอง แและต่อมาก็นำสู่กิจกรรมบูรณาการคณิตศาสตร์ โดยที่ครูจะจัดเตรียมไข่ไว้ให้เด็ก และนำไปใส่ไว้ในตะกร้า ตามจำนวนดังนี้
ตะกร้าที่1 เปรียบเหมือนวันที่ 1 ออกไข่ 1ฟอง
ตะกร้าที่2 เปรียบเหมือนวันที่2 ออกไข่ 2ฟอง
ตะกร้าที่3จนครบตะกร้าที่5 ไข่ 5 ฟอง

2.แบ่งหน้าที่งานกลุ่ม
มีสมาชิก 2 คน คือวราพรและทาริกา หน้าที่ดังนี้
ทาริกา ดูแล วันจันทร์ทำเรื่องประเภท
วราพร  ดูแล วันอังคารทำเรื่องลักษณะ

3.กรอบสาระคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์
ระหว่างการดำเนินการต่างๆ  และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.3 ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.4 เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
สาระที่ 2 การวัด
มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
มาตรฐาน ค 2.2 แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
มาตรฐาน ค 3.1 อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
มาตรฐาน ค 3.2 ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial
reasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model)
ในการแก้ปัญหา
สาระที่ 4 พีชคณิต
มาตรฐาน ค 4.1 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern)  ความสัมพันธ์  และฟังก์ชัน
มาตรฐาน ค 4.2 ใช้นิพจน์  สมการ  อสมการ  กราฟ  และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ 
(mathematical  model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจน
แปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
มาตรฐาน ค 5.2 ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้
อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค 5.3 ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อ
ความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์
อ้างอิง:http://www.sjt.ac.th/group/math/standard.htm           

บันทึกการเรียนครั้ง 11
วันศุกร์ ที่ 18 มีนาคม 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
1.เขียนแบบสรุปองค์ความรู้ที่จะนำเอาไปสอน ทำงานเป็นกลุ่ม
    ตัวอย่างเช่น กลุ่มฉันทำเรื่องของผีเสื้อ แบ่งหัวข้อตามวัน 5 วัน
จันทร์-ประเภทของผีเสื้อ
อังคาร-ลักษณะของผีเสื้อ
พุธ-การดำรงชีวิต(อาหาร)ของผีเสื้อ
พฤหัสบดี-การขยายพันธ์
ศุกร์-ประโยชน์ของผีเสื้อ



บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10
วันศุกร์ ที่11 มีนาคม 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
1.อาจารย์ให้ทำจิ๊กซอว์จากกระดาษลังทำเป็นรูปทรงเลขาคณิต โดยมีตัวแบบมาให้

 


บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันศุกร์ ที่4 มีนาคม 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
1.จับคู่กับเพื่อนเพื่อทำตารางเป็นสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

   วัสดุ
  •  กรรไกร คัดเตอร์
  •  กาว
  •  ไม้บรรทัด
  •  ดินสอ
  •  กระดาษเปล่า
  •  แผ่นลัง (ลังที่ถูกตัดเป็นแผ่นใหญ่)
  •  สติ๊กเกอร์
  •  สก็อตเทป
  •  กระดาษเคลือบใส
วิธีการ

 














 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันศุกร์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
1.การแก้ไขปัญหาและวิธีคิด
  • คิด
  • อุปกรณ์
  • ลงมือปฏิบัติ
  • ผลงาน
  • นำเสนอ 
2.STEM คือ
  • Science (วิทยาศาสตร์)
  • Technology (เทคโนโลยี)
  • Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)  
  • Mathematic (คณิตศาสตร์) 
3.เกมการศึกษามี 8 เกม ดังนี้ 

1.จับคู่
เพื่อให้เด็กได้ฝึกสิ่งที่เหมือนกันหรือแตกต่างกัน ซึ่งอาจเป็นการเปรียบเทียบภาพ
ต่างๆ แล้วจัดเป็นคู่ๆ ตามจุดมุ่งหมายของเกมแต่ละชุดของเกมจับคู่ประกอบด้วย
1.1 เกมจับคู่ที่เหมือนกันหรือสิ่งเดียวกัน
1.1.1 จับคู่ที่เหมือนกันทุกประการ
1.1.2 จับภาพกับเงาของสิ่งเดียวกัน
1.1.3 จับภาพกับโครงร่างของสิ่งเดียวกัน
1.1.4 จับภาพที่ซ่อนอยู่ในภาพหลัก
1.2 เกมจับคู่ภาพที่เป็นประเภทเดียวกัน
1.3 เกมจับคู่ภาพที่มีความสัมพันธ์กัน
1.4 เกมจับคู่ภาพสัมพันธ์แบบตรงข้าม
1.5 เกมจับคู่ภาพเต็มกับภาพที่แยกส่วน
1.6 เกมจับคู่ภาพชิ้นส่วนที่หายไป
1.7 เกมจับคู่ภาพที่ซับซ้อน
1.8 เกมจับคู่ภาพที่สมมาตรกัน
1.9 เกมจับคู่ภาพที่มีความสัมพันธ์กันแบบอุปมา อุปมัย
1.10 เกมจับคู่ภาพที่มีเสียงสระเหมือนกัน
1.11 เกมจับคู่ภาพที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน
1.12 เกมจับคู่แบบอนุกรม
2. การต่อภาพให้สมบูรณ์ (Jigsaw)
3. การวางภาพต่อปลาย (Domino)
3.1 เกมโดมิโนภาพเหมือน
3.2 เกมโดมิโนภาพสัมพันธ์
3.3 เกมโดมิโนผสม 5
4. การเรียงลำดับ
4.1 เกมเรียงลำดับขนาด
4.2 เกมเรียงลำดับหมู่ของภาพ
5. การจัดหมวดหมู่
5.1 เกมการจัดหมวดหมู่ของวัสดุ
5.2 เกมการจัดหมวดหมู่ของภาพ
5.3 เกมการจัดหมวดหมู่ของรายละเอียดของภาพ
5.4 เกมการจัดหมวดหมู่ภาพกับสัญลักษณ์
6. การสังเกตรายละเอียดของภาพ (Lotto)
7. การจับคู่แบบตารางสัมพันธ์
8. พื้นฐานการบวก
9. การทำความสัมพันธ์ตามลำดับที่กำหนด
อ้างอิง : ( สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. , 2536 : 42)
บันทึกการเรียนการสอนครั้ง 7
วันศุกร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
1.อาจารย์ให้เอาไม้เสียบลูกชิ้นมา สั้นและยาว และดิ้นน้ำมัน และอาจารย์จะให้โจทย์มาว่าให้ประกอบเป็นอะไร

2.ทักษะการคิด
 
การวิเคราะห์โจทย์  แนวคิด
ศึกษาวัสดุที่มีอยู่
ลงมือทำ
ผลงาน
การประเมินผล
                                                                       อุปกรณ์

บันทึกการเรียนครั้ง 6
วันศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
1.อาจารย์ให้เล่นเกมส์คือ สร้างตาราง 2 ตาราง ตารางแรกมี 20 ช่อง ตารางที่ 2 มี 40 ช่อง แล้วให้แรเงาให้เป็นรูปทรงต่างๆ
2.อาจารย์ให้ดูการสอนแบบโปรเจ็คของโรงเรียนเกษมพิทยา ดังนี้

การสอนแบบโครงการ(Project Approach)

                       การสอนแบบโครงการหรือแบบโครงงาน Project Approach  วงการศึกษาของไทยใช้ชื่อ “การสอนแบบโครงการ”  ในระดับปฐมวัยศึกษาหรือระดับอนุบาลศึกษา  และ  ใช้ชื่อ การสอนแบบโครงงาน  ในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา การสอนดังกล่าวเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยการสร้างความรู้ด้วยตนเอง นับเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการปฏิบัติที่เหมาะสมและการเรียนรู้ที่มีความหมายเต็มไปด้วยความกระตือรือร้นของเด็กปฐมวัย
 
มี 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่  1  เริ่มต้นโครงการ : ทบทวนความรู้และความสนใจของเด็ก เลือกหัวเรื่องที่เกี่ยวกับประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่ทุกวัน
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ ให้โอกาสเด็กค้นคว้า และมีประสบการณ์ใหม่เป็นงานในภาคสนาม
ระยะที่ 3  สรุปโครงการ :  ประเมิน สะท้อนกลับ  และแลกเปลี่ยนงานโครงการเป็นระยะสรุปเหตุการณ์  รวมถึงการเตรียมเสนอรายงานและผลที่ได้ในรูปของการจัดแสดงการค้นพบ  และจัดทำสิ่งต่าง ๆ สนทนา  เล่นบทบาทสมมติ  หรือจัดนำชมสิ่งที่ได้จากการก่อสร้างครูควรจัดให้เด็กได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนเรียนรู้กับผู้อื่น  
 
 ทักษะ / ระดมความคิด
-ทักษะการตอบคำถาม
-ทักษะการนับจำนวน
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
-ทักษะเรื่องรูปทรง 
         -ทักษะการแก้ปัญหา

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 
วันศุกร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหาหารเรียนการสอน
1.สอนเรื่องปฏิทินสำหรับเด็ก ซึ่งเราสามารถใช้ปฏิทินกับเด็กๆให้สามารถเข้าใจได้ง่าย และสามารถใช้ปฏิทินกับเด็กได้อย่างหลากหลาย เช่น การนับจำนวนจากวันปฏิทิน การจัดทำวันเกิดสำหรับเด็กๆ

2.เด็กจะต้องเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งหากเด็กไม่แสดงพฤติกรรมเมื่อทำกิจกรรมแสดงว่าเด็กนั้นแค่รับรู้ หากเด็กแสดงพฤติกรรมในกิจกรรมนั้นๆแสดงว่าเด็กเกิดการเรียนรู้

3.ร้องเพลง เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เรื่องการเพิ่ม-ลดจำนวน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการบวกและลบ


4.นำเสนอของเล่น ของแต่ละกลุ่ม